ในปัจจุบันโรคหัวใจและโรคหลอดเลือดสมอง ยังคงเป็นสาเหตุการเสียชีวิตอันดับต้นๆ ของโลก ซึ่งสาเหตุสำคัญประการหนึ่ง คือ ระดับไขมันในเลือดสูง ด้วยเหตุนี้ หลายคนจึงมองหาทางเลือกที่ปลอดภัยและมีประสิทธิภาพในการควบคุมหรือลดระดับไขมันในเลือดนอกเหนือจากยาที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบัน โพลิโคซานอล (Policosanol) ถือเป็นอีกทางเลือกจากธรรมชาติที่ได้รับความสนใจในวงการสุขภาพ อีกทั้งการศึกษาทางวิทยาศาสตร์ได้แสดงให้เห็นถึงประโยชน์ของโพลิโคซานอลในการลดระดับคอเลสเตอรอลในเลือด โดยเฉพาะอย่างยิ่งคอเลสเตอรอลชนิดร้าย (LDL-cholesterol)
โพลิโคซานอล คือ กลุ่มของแอลกอฮอล์อะลิฟาติกสายตรง (Long chain aliphatic alcohols) ที่มีจำนวนคาร์บอน 20-36 อะตอม โดยส่วนประกอบหลักในสารประกอบโพลิโคซานอล ได้แก่
ซึ่งปริมาณและสัดส่วนของส่วนประกอบเหล่านี้จะแตกต่างกันไปตามแหล่งที่มาของโพลิโคซานอล ส่วนมากพบได้ในไขจากพืชและสัตว์หลายชนิด เช่น โพลิโคซานอลจากไขผึ้ง (Beeswax) รำข้าว (Rice bran) ข้าวโอ๊ต (Oats) ข้าวสาลี (Wheat) เมล็ดข้าวฟ่าง (Sorghum) ใบมะกอก (Olive leaves) ฯลฯ แต่แหล่งที่มีการนำมาสกัดเพื่อใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์มากที่สุด ได้แก่ โพลิโคซานอลจากไขเปลือกอ้อย (Sugar cane wax)
ไขเปลือกอ้อย เป็นแหล่งของโพลิโคซานอลที่ได้รับความนิยมมากที่สุด เนื่องจากมีปริมาณโพลิโคซานอลสูง โดยเฉพาะออกตะโคซานอล (Octacosanol) ซึ่งพบได้ถึง 66% ของโพลิโคซานอลทั้งหมดในไขอ้อย โดยมีการศึกษาทางการแพทย์เกี่ยวกับโพลิโคซานอลที่พบว่า โพลิโคซานอลจากไขจากเปลือกอ้อย (Sugarcane wax) นั้นมีส่วนช่วยลดระดับไขมันในเลือดของสัตว์ทดลองได้ในลักษณะเดียวกับยาลดไขมันในเลือดกลุ่มสแตติน แต่มีความปลอดภัย ไม่ส่งผลกระทบต่อความเสี่ยงกล้ามเนื้ออ่อนแรงหรือตับอักเสบและสามารถรับประทานได้อย่างต่อเนื่อง ด้วยเหตุนี้จึงทำให้โพลิโคซานอลจากไขเปลือกอ้อยถูกนำมาใช้เป็นตัวช่วยในการควบคุมระดับไขมันคอเลสเตอรอลในเลือดในปัจจุบันนั่นเอง
เนื่องจากองค์ประกอบที่สำคัญของโพลิโคซานอล (Policosanol) นั้นมีประโยชน์ต่อการดูแลสุขภาพ จึงมีการนำวัตถุดิบธรรมชาติ เช่น ชานอ้อย ไขผึ้ง มาสกัดด้วยกรรมวิธีที่ทันสมัยและพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์เสริมอาหารทางเลือก เพื่อใช้ประโยชน์ในการควบคุมระดับไขมันในเลือด โดยคุณค่าจากโพลิโคซานอลนั้นดีต่อสุขภาพหลายประการ ได้แก่
1. ช่วยยับยั้งการสังเคราะห์คอเลสเตอรอล
เนื่องจากคุณสมบัติของโพลิโคซานอลนั้น มีส่วนช่วยยับยั้งการทำงานของเอนไซม์ HMG-CoA reductase ซึ่งเป็นเอนไซม์ชนิดหนึ่งที่มีความสำคัญในกระบวนการสังเคราะห์คอเลสเตอรอลในตับ (มีกลไกการทำงานคล้ายยาลดไขมันในเลือดกลุ่มสแตติน) จากการศึกษาเปรียบเทียบ การรับประทานโพลิโคซานอลขนาด 10 มิลลิกรัมต่อวัน กับ Lovastatin (ยากลุ่มสแตติน) ขนาด 20 มิลลิกรัมต่อวัน ในผู้ป่วยจำนวน 53 ราย เป็นเวลา 8 สัปดาห์ พบว่าทั้งสองกลุ่มมี การลดลงของคอเลสเตอรอลชนิดร้าย (LDL- cholesterol) ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ (24% สำหรับโพลิโคซานอล และ 22% สำหรับ Lovastatin)
อ่านต่อ : ยาลดไขมันในเลือด มีผลข้างเคียงอย่างไร
2. ช่วยให้ระดับคอเลสเตอรอลชนิดร้าย (LDL-cholesterol) ลดลง
โพลิโคซานอลมีส่วนช่วยให้ระดับคอเลสเตอรอลชนิดชนิดร้าย (LDL-cholesterol) และ ช่วยลดไขมันคอเลสเตอรอลรวม (TC) ในขณะเดียวกันยังช่วยเพิ่มระดับคอเลสเตอรอลชนิดดี (HDL-cholesterol) จากตับ ซึ่งมีบทบาทในการขนส่งคอเลสเตอรอลส่วนเกินกลับไปยังตับเพื่อกำจัดออกจากร่างกาย จึงมีส่วนช่วยป้องกันโรคหลอดเลือดหัวใจได้ จากการศึกษาแบบสุ่มและมีกลุ่มควบคุมในผู้ป่วยที่มีภาวะไขมันในเลือดสูง(Hypercholesterolemia) จำนวน 437 ราย พบว่าการรับประทานโพลิโคซานอลขนาด 5 -10 มิลลิกรัมต่อวัน เป็นเวลา 12 สัปดาห์ ช่วยลดระดับคอเลสเตอรอลชนิดร้าย (LDL-cholesterol) ได้ 18-25% และ เพิ่มระดับคอเลสเตอรอลชนิดดี (HDL-cholesterol) ได้ 7-10% โดยไม่พบผลข้างเคียงที่รุนแรง
3 . ป้องกันภาวะหลอดเลือดแข็ง (Atherosclerosis)
โพลิโคซานอลมีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ ซึ่งช่วยป้องกันการออกซิเดชั่นของคอเลสเตอรอลชนิดชนิดร้าย (LDL-cholesterol) ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญที่นำไปสู่การเกิดภาวะหลอดเลือดแข็ง (Atherosclerosis) โดยการได้รับโพลิโคซานอลที่มีความยาวคาร์บอน 24-34 อะตอม ในปริมาณ 5-20 มิลลิกรัมต่อวัน เป็นเวลา 6-12 สัปดาห์ จะช่วยควบคุมระดับไขมันในเลือดได้ดีขึ้น
4. ป้องกันการเกาะกลุ่มของเกล็ดเลือด (Platelet aggregation)
การเกิดลิ่มเลือด (Blood clot) นั้นเป็นสาเหตุของโรคหลอดเลือดสมองและหัวใจขาดเลือด จากการศึกษาพบว่าโพลิโคซานอลสามารถลดการเกาะกลุ่มของเกล็ดเลือดได้อย่างมีนัยสำคัญ นอกจากนี้โพลิโคซานอลยังช่วยกระตุ้นการสร้างไนตริกออกไซด์ (Nitric oxide) ซึ่งเป็นสารที่ช่วยให้หลอดเลือดขยายตัว ทำให้การไหลเวียนของเลือดดีขึ้น และช่วยให้ควบคุมระดับความดันโลหิตได้ดีขึ้น
โพลิโคซานอล (Policosanol) เป็นสารอาหารจากธรรมชาติที่มีส่วนช่วยในการลดระดับไขมันในเลือดและอาจใช้แทนยาลดไขมันในบางกรณี ร่วมกับการควบคุมอาหารและการออกกำลังกายอย่างเหมาะสม โดยปริมาณการรับประทานที่แนะนำ ได้แก่
อย่างไรก็ตาม สำหรับผู้ที่มีปัญหาหลอดเลือดแข็งตัวช้า หรือ รับประทานยาแอสไพริน ไม่ควรรับประทาน รวมถึงผู้ที่มีภาวะไขมันในเลือดสูงมาก และ มีโรคประจำตัวอื่นๆ ร่วมด้วย ควรปรึกษาแพทย์ก่อนใช้โพลิโคซานอลแทนยาลดไขมันแผนปัจจุบันและไม่ควรหยุดรับประทานยาลดไขมันเอง ควรแจ้งแพทย์ผู้รักษาก่อนทุกครั้ง
การรับประทานโพลิโคซานอล (Policosanol) ให้ได้ประโยชน์สูงสุด นอกจากจะต้องคำนึงถึงคุณค่าทางสารอาหารแล้วยังควรพิจารณาเลือกผลิตภัณฑ์ที่ได้มาตรฐานการผลิตยาระดับสากล ได้แก่ GMP BfArm และ TGA ปราศจากสารปนเปื้อน และ สารเคมีตกค้างที่เป็นอันตรายต่อร่างกาย นอกจากนี้การรับประทานโพลิโคซานอลอย่างเหมาะสมภายใต้คำแนะนำของแพทย์ อาจเป็นทางเลือกหนึ่งสำหรับผู้ที่ต้องการดูแลสุขภาพหัวใจและหลอดเลือดได้อย่างยั่งยืน
ปรึกษาการรับประทานโคซานอลกับเภสัชกร ฟรี
Krill Oil (คริลล์ออย) ตัวช่วยลดภาวะไขมันในเลือดสูง