งดน้ำตาล 14 วันจะเกิดอะไรขึ้นกับร่างกาย

น้ำตาลในเลือด

น้ำตาล (Sugar) สารอาหารที่ให้ความหวาน ซึ่งอยู่ในอาหารเกือบทุกชนิดมากน้อยแตกต่างกันออกไปโดยเฉพาะอาหารฟาสต์ฟู้ด ของทอด หรืออาหารปิ้งย่าง และเครื่องดื่มที่ให้รสหวานโดยตรง เช่น กาแฟ(บางประเภท) ชาผลไม้ ชาเขียว ชาไข่มุก และน้ำอัดลม


จากสถิติการสำรวจของกรมอนามัยและสำนักงานกองทุนสนับสนุนการส่งเสริมสุขภาพ (ส.ส.ส.) พบว่าคนไทยบริโภคน้ำตาลมากถึงวันละ 20 ช้อนชา หรือเกินกว่าปริมาณปกติถึงกว่าสามเท่าซึ่งการบริโภคน้ำตาลที่ให้เหมาะสมองค์การอนามัยโลก (WHO) แนะนำน้ำตาลเพียง 24 กรัมต่อวันหรือประมาณ 4-6 ช้อนชาเท่านั้น


แน่นอนว่าการบริโภคน้ำตาลเกินกว่าที่กำหนดจะส่งผลต่อสุขภาพระยะยาว เช่น ระดับน้ำตาลในเลือดสูงกว่าปกติ การผลิตฮอร์โมนอินซูลินลดลง และเป็นจุดเริ่มต้นของโรคร้ายแรง เช่น โรคหัวใจ ไขมันพอกตับ ไขมันในเลือดสูง ความดันโลหิตสูง และโรคอ้วน


ดังนั้นการลดบริโภคน้ำตาล จึงเท่ากับเป็นการลดความเสี่ยงอันตรายที่จะเกิดขึ้นกับสุขภาพอีกทั้งยังเป็นการช่วยให้สุขภาพดีขึ้นอย่างน่าประหลาดใจ และความเปลี่ยนแปลงของร่างกายที่พบจากการลดการบริโภคน้ำตาลลงเพียงแค่ 14 วัน ก็คือ

  • หิวน้อยลง และอยากกินของหวานลดลง
  • หงุดหงิด และอ่อนเพลียลดลง
  • การเผาผลาญดีขึ้น น้ำหนักลดลง
  • สมองสดชื่น ความจำดีขึ้น
  • ค่าน้ำตาลในเลือด และความดันโลหิตดีขึ้น
  • ผิวอ่อนเยาว์ ชะลอความแก่
  • นอนหลับง่ายขึ้น และนอนหลับสนิท

นอกจากการลดปริมาณการบริโภคของหวาน และน้ำตาลลงแล้ว สิ่งที่จะช่วยลดความเสี่ยงในการเป็นโรคเบาหวาน และโรคร้ายแรงอื่นๆ อันมีสาเหตุมาจากระดับน้ำตาลในเลือดสูงที่แพทย์ผู้เชี่ยวชาญได้แนะนำไว้ ก็คือ

  1. เลิกกินเนื้อสัตว์ และให้กินผักและผลไม้ในรูปแบบ Plant-Based Food
  2. กินธัญพืชไม่ขัดสีให้มากขึ้น เช่น ข้าวกล้อง ถั่วต่างๆ
  3. กินกากใยอาหารจากผักและผลไม้
  4. หลีกเลี่ยงการใช้น้ำมัน ผัด และทอดอาหาร
  5. ลดน้ำหนัก
  6. ออกกำลังกาย
อ้างอิง

ขอบคุณข้อมูลจาก :
1.  ฐานข้อมูลวิตามินและสารอาหาร MEGA We care
2.  นายแพทย์สันต์ ใจยอดศิลป์ แพทย์ผู้เชี่ยวชาญเวชศาสตร์ครอบครัว และผู้อำนวยการศูนย์สุขภาพ Wellness We care Center มวกเหล็ก สระบุรี 

อัลบั้มภาพ

ข่าวสุขภาพอื่นๆ

มารู้จักกลุ่มโรคติดต่อไม่เรื้อรัง (NCDs) และวิธีป้องกันง่ายๆ

รู้ให้ละเอียดยิ่งขึั้นกับเชื้อโรคโควิด-19 สายพันธุ์โอไมครอน

วิตามินซี และฟ้าทะลายโจร2 สิ่งสำคัญของผู้ติดเชื้อ เมื่อต้องรักษาตัวอยู่ที่บ้าน