โรคอัลไซเมอร์ (ความทรงจำที่หายไป)
“ลืม ... วางของทิ้งไว้บ่อย ๆ หาที่จอดรถไม่เจอ นึกอะไรไม่ค่อยออก ลืมว่ากำลังทำอะไรอยู่ จะเป็นอัลไซเมอร์หรือเปล่า?
ปกติแล้ว ถ้ายังมีความรู้สึกว่า ตัวเองชอบหลงลืมง่าย ๆ มักจะไม่ใช่อาการของคนเป็นโรคอัลไซเมอร์ เพราะผู้ป่วยโรคอัลไซเมอร์ส่วนใหญ่นั้นไม่รู้ตัวเองว่า ความจำเสื่อม หลงลืม และมักจะไม่รู้สึกเดือดร้อนกับอาการเหล่านั้นด้วยซ้ำ อาการแบบนี้ต่างหากที่น่ากลัว เพราะคงไม่มีใครอยากให้เกิดกับตัวเองหรือคนใกล้ตัว ลองสังเกตอาการเบื้องต้นของโรคอัลไซเมอร์กันดูก่อนดีกว่า จะได้มีแนวทางในการป้องกันได้อย่างถูกต้อง
ความจำเสื่อมหรือหลงลืม เรื่องที่ลืมก็จะเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นใหม่ ๆ ในชีวิตประจำวัน เช่น ลืมปิดเตารีด ลืมกินยา ลืมชื่อคน ลืมของ หาของใช้ส่วนตัวไม่พบ ชอบพูดซ้ำ ถามคำถามซ้ำ เพราะจำคำตอบไม่ได้ หรือลืมแม้กระทั่งว่าใครมาพบเราในวันนี้ และยังมีปัญหาเรื่องการพูดและการใช้ภาษา ประมาณว่าคิดคำศัพท์บางคำไม่ออก แล้วไปใช้คำใกล้เคียงแทน หลงทางบ่อย บอกชื่อตัวเองไม่ถูก เรียกชื่อคนที่เคยรู้จักไม่ถูก ไม่สามารถทำงานที่เคยมีความชำนาญได้ และอีกมากมาย แล้วคนที่จะรับรู้อาการเหล่านี้มักไม่ใช่ตัวผู้ป่วยเอง แต่จะเป็นญาติ คนใกล้ชิดหรือคนดูแลที่รับรู้อาการของผู้ป่วยโดยตรง ซึ่งหากปล่อยไว้นานวันเข้า อาการดังกล่าวจะเริ่มรุนแรงจนมีผลกระทบต่อการดำเนิน กิจวัตรประจำวันได้ ซึ่งจะก่อให้เกิดปัญหาตามมา ทั้งเสียค่าใช้จ่ายแถมเสียสุขภาพจิตอีกด้วย บางคนอาจมีอาการซึมเศร้า วิตก กระสับกระส่าย ควบคู่ไปด้วย
อัลไซเมอร์ คือโรคสมองเสื่อม ที่พบได้บ่อยที่สุด ในช่วงวัยสูงอายุ ปัจจุบันมีกลุ่มผู้ป่วยเป็นโรคอัลไซเมอร์จำนวนถึง 33.9 ล้านคนทั่วโลก และคาดว่าจะเพิ่มเป็น 3 เท่าในอีก 40 ปีข้างหน้า และจากการสำรวจในประเทศไทย ปี พ.ศ.2554 ผู้สูงอายุที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไป มีจำนวน 8.3 ล้านคน พบว่าร้อยละ 10 มีแนวโน้มเป็นโรคสมองเสื่อมอัลไซเมอร์ หรือราว 8 แสนสามหมื่นรายนั่นเอง และที่สำคัญผู้หญิงเป็นโรคนี้มากกว่าผู้ชาย มีคนเคยคำนวนเล่น ๆ ว่าทุก 68 วินาทีจะมีผู้ป่วยโรคอัลไซเมอร์เพิ่มขึ้นคนหนึ่งบนโลกใบนี้ ซึ่งถือว่าเป็นตัวเลขที่น่าตกใจพอสมควร รู้อย่างนี้แล้ว อย่ามัวปล่อยปะละเลยการดูแลสุขภาพร่างกาย และสมองกันอีกเลย เราควรเริ่มต้นหันมาดูแลสุขภาพกันอย่างจริงจังเสียที
เริ่มต้นดูแลสุภาพด้วยตนเองกับวิธีง่าย ๆ ดังนี้
การเลือกรับประทานสารอาหารจากธรรมชาติก็เป็นทางเลือกหนึ่งในการดูแลสมอง ได้แก่ น้ำมันปลา เลซิติน ซึ่งเป็นสารอาหารที่หลายๆ คนรู้จักเป็นอย่างดี แต่ยังมีสารอาหารอีกชนิดหนึ่งที่จะแนะนำ เพื่อเป็นตัวเลือกหนึ่งในการช่วยปกป้องสมอง ดูแลสมองได้อย่างดี คือ สารสกัดจากใบแปะก๊วย (Ginkgo biloba) ซึ่งเป็นสมุนไพรชนิดหนึ่ง ที่มีคุณสมบัติเป็นสารต้านอนุมูลอิสระ ทำหน้าที่ช่วยปกป้องเซลล์สมองจากการถูกทำลายโดยอนุมูลอิสระ ที่เป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เกิดภาวะสมองเสื่อมได้ มากไปกว่านั้นสารสกัดจากใบแปะก๊วยมีคุณสมบัติช่วยเพิ่มความยืดหยุ่นของหลอดเลือด ส่งผลให้นำพาออกซิเจนและอาหารไปเลี้ยงสมองและส่วนต่างๆ ของร่างกายได้ดีขึ้น เพิ่มการไหลเวียนเลือดไปเลี้ยงสมอง ป้องกันสมองขาดเลือด และมีฤทธิ์ต่อต้านการจับตัวของเกล็ดเลือด จึงช่วยป้องกันการอุดตันของหลอดเลือดสมองได้เช่นกัน
ประสิทธิภาพของสารสกัดจากใบแปะก๊วยที่มีต่อสมอง
สารสกัดจากใบแปะก๊วยที่พบในท้องตลาดมีหลายรูปแบบไม่ว่าจะเป็นเม็ดตอก เป็นผงบรรจุแคปซูล แบบชาชงสมุนไพร ทั้งนี้ควรมีหลักการพิจารณาเลือกถึงคุณภาพการผลิตของผลิตภัณฑ์นั้น ๆ ด้วย โดยเฉพาะอย่างยิ่งรูปแบบผลิตภัณฑ์ ซึ่งเป็นรูปแบบไฟโตโซม จัดป็นรูปแบบที่มีการดูดซึมที่ดี และในเรื่องมาตรฐานการผลิตนั้นควรเป็นผลิตภัณฑ์ที่มีกระบวนการผลิตภายใต้มาตรฐานยาระดับสากล ซึ่งมั่นใจได้ในคุณภาพ ปราศจากสารปนเปื้อน และมีอีกสิ่งหนึ่งที่จะขาดไปไม่ได้เลยก็คือ การออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ การตรวจเช็คสุขภาพประจำปี เพื่อเป็นการดูแลสุขภาพอย่างต่อเนื่อง ป้องกัน และเตรียมรับมือโรคต่าง ๆ ก่อนวัยอันควรได้เพราะทุกความทรงจำนั้นมีค่า คงไม่มีใครอยากให้โรคอัลไซเมอร์ พรากช่วงเวลาดี ๆ ของคุณไป จริงมั้ย ?
ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับใบแปะก๊วย คลิกที่นี่ และ Ginkgo Biloba คลิกที่นี่